งานผลิตโดยโรงงานในประเทศ จากวัสดุ ABS ตามมาตราฐาน พ่นสีรองพื้นและคลือบด้วยสี 2K พร้อมติดสติ๊เกอร์ พร้อมน้ําไปประกอบได้เลย พลาสติก ABS มีชื่อเต็มว่า Acrylonitrile Butadiene Styrene พลาสติกชนิดนี้ เป็นพลาสติกชนิด เทอร์โมพลาสติก หรือพลาสติกที่มีจุดหลอมเหลว สามารถนํากลับมาใช้ได้อีก โดยปัจจุบัน พลาสติก ABS สามารถพบได้บ่อยในอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อาทิเช่น เป็นส่วนประกอบของ โทรศัพท์มือถือ เครื่องใช้ไฟฟ้า กล่องพักสายไฟ ของเล่นสําหรักเด็ก หมวกกันน็อค รวมถึงเครื่องพิมพ์ 3D โครงสร้างของพลาสติก ABS พลาสติก ABS นั้นเป็นพลาสติดที่สร้างขึ้นมาโดยนําโมโนเมอร์ 3 ชนิดมาผสมและทําปฎิกิริยากัน โดยโมโนเมอร์ทั้ง 3 ชนิดนั้น จะส่งผลต่อผลิตภัณฑ์ที่ผลิตออกมานั้นจะมีคุณสมบัติ อย่างไร ดังนี้ สไตรีน
Styrene: เป็นโมโนเมอร์ที่เมื่อผสมเข้าไปแล้วจะทําให้เนื้อพลาสติกมีความมันงา สวยงาม และยังทําให้สามารถแต่งตัดรูปได้ง่าย อะคริไลไนโตรล์
Acrylonitrile: เป็นโมโนเมอร์ที่เมื่อผสมเข้าไปแล้วจะทําให้เนื้อพลาสติกมีความสามารถในการทนความร้อนและสารเคมี โพลิบิวทาไดอีน
Polybutadiene: เป็นโมโนเมอร์ที่เมื่อผสมเข้าไปแ้ลวจะทําให้เนื้อพลาสติกสามารถทนต่อแรงกระแทกได้มากขึ้น คุณสมบัติ ที่สําคัญของ พลาสติก ABS
แข็งแรงและยืดหยุ่น: จุดเด่นของพลาสติก ABS คือความแข็งแรง ยืดหยุ่น ทนต่อสภาพอากาศ ทนต่อแรงบีบ จึงเหมาะสําหรับการขึ้นรูป รวมถึงเครื่องพิมพ์ 3D
ทนอุณหภูมิได้ดี: พลาสติก ABS นั้นมีจุดหลอมเหลวที่สูง ถึง 200°C 250°C จึงทนความร้อนได้สูงกว่าพลาสติกชนิดอื่น แต่ก็เย็นตัวลงได้ช้ากว่าเช่นกัน
มีความขุ่น: เมื่อทําการผสมสีเข้าไปในเนื้อพลาสติก จะทําให้สีของผลิตภัณฑ์ขุ่น ไม่โปร่งใส จึงไม่เหมาะสําหรับผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความโปร่งใส ขึ้นรูป
ตกแต่งได้ง่าย: จุดเด่นอีกข้อหนึ่งของพลาสติก ABS คือสามารถขึ้นรูปได้ง่ายพลาสติก ABS มีจุดเด่นในเรื่องของความแข็งแรงทนทาน ทนความร้อน และมีความยืดหยุ่น จึงเหมาะที่จะใช้ในที่ๆโดนความร้อน ใช้งานกลางแจ้ง งานวิศวกรรม ชิ้นส่วนกลไกที่ต้องทนแรงกระแทกและแรงบิด ทั้งนี้ในการเลือกวัสดุที่เหมาะสม ควรพิจารณาถึงลักษณะการใช้งานของเรา สภาพแวดล้อมที่จะใช้งาน และความสามารถของ 3D printer ที่เรามีครับ 2K คุณสมบัติ ของสีแห้งช้าคือ ให้ความคงทนและยึดเกาะที่ดีกว่า แต่มีราคาสูงกว่าสีแห้งเร็วเกือบเท่าตัว อดีตในวงการสีอู่ทั่วไปมักบอกกับลูกค้าว่า สีที่ตัวเองใช้เป็นสีแห้งช้า ไม่มีการผสม แต่อู่ทั่วไปมักจะลดต้นทุนด้วยการนําสีไปผสมกับน้ํา เพื่อให้ได้ปริมาณมากๆ และใช้ได้หลายๆคัน ซึ่งข้อเสียก็คือ ทําให้คุณภาพของสีลดลง และประสิทธิภาพการยึดเกาะด้อยลง พร้อมติดสติ๊กเกอร์