น้ําหมักชีวภาพจุลลินทรีย์ (มูลค้างคาว) คุณค่าของมูลค้างคาว -แร่ธาตุอาหาร มูลค้างคาวมีแร่ธาตุอาหารหลัก รองเสริม กรดฟูลวิก กรดฮิวมิคสูงและไคโตซาน ซึ่งอยู่ในสภาพที่ค่อยๆละลายช้าๆไม่ละลายเร็วหรือสลายตัวเร็ว การที่ธาตุอาหารค่อยๆละลายจะทําให้ลดการสูญเสีย ระเหยไปในอากาศ ช่วยให้พืชดูดซึมกินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในมูลค้างคาวจะมีไนโตรเจน และอินทรียวัตถุสูงแต่จะมีฟอสเฟตน้อยกว่า -จุลินทรีย์ ในมูลค้างคาวจะ มีจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์(เชื้อรา แบคทีเรีย และ แอคติโนมายซีส) ในการช่วยย่อยสลายเศษวัสดุในดินให้กลายเป็นปุ๋ย และละลายธาตุอาหารที่ตกค้างในดินให้กลายเป็นปุ๋ย ตลอดจนการป้องกันกําจัดโรคพืชที่เกิดจากไส้เดือนฝอย และโรครากเน่าโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อรา และแบคทีเรีย ประโยชน์ของมูลค้างคาว 1 ปรับสภาพและบํารุงดิน เพราะในมูลค้างคาวมีแร่ธาตุพวกแคลเซียมที่ช่วยปรับสภาพดินที่มีค่าเป็นกรด ให้ดินมีค่าเป็นกลาง มีความเหมาะสมต่อการดูดซึมแร่ธาตุอาหาร ในการเร่งการเจริญเติบโต เพิ่มผลผลิต และลด ต้นทุน ในการเพาะปลูกพืชทุกชนิด 2 มีแร่ธาตุอาหารหลักรอง เสริม อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ 3 มีกรดฮิวมิค ซึ่งเป็นตัวช่วยละลายฟอสเฟตที่ถูกตรึงอยู่ในดิน ให้กลายเป็นอาหารของพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4 ทําให้ดินร่วนซุย เนื่องจากดินได้ถูกปรับสภาพให้มีค่าเป็นกลางแล้ว เมื่อมีอินทรีย์วัตถุ และจุลินทรีย์ที่ช่วยย่อยสลาย เศษวัสดุที่ตกค้างในดินแล้ว ยังเป็นการช่วยให้รากพืชแผ่ขยาย ทําให้ดูดกินอาหารได้มากขึ้น และยังช่วยเก็บรักษาความชุ่มชื้นในดินได้ดียิ่งขึ้น 5 มีจุลินทรีย์ที่ช่วยป้องกันและกําจัดโรคพืช พวกไส้เดือนฝอยและโรครากเน่าโคนเน่า เช่น เชื้อActinomycetes sp Trichoderma spp Bacillus sp 6 มีประจุไฟฟ้าที่ช่วยในการดูดซึมแร่ธาตุอาหารของพืช ช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมี 7 เป็นสารอินทรีย์ธรรมชาติและมีน้ําหนักโมเลกุลสูงทําให้เกิดประโยชน์ต่อพืชได้นานไม่เกิดการสูญเสีย 8 มีไคโตซานช่วยยับยั้งและสร้างความต้านทานโรคให้กับพืช เช่น เชื้อ - เชื้อแบคทีเรีย เช่น แคงเคอร์ ใบจุด - เชื้อไวรัสโรคพืช - เชื้อรา เช่น ไฟทอปธอร่า พิเทียม ฟิวซาเรียม - แอนแทรคโนส เมลาโนส รากเน่า โคนเน่า ดีต่อพืชอย่างไร? -บํารุงดอกและผลทําให้ขั้วเหนียวสมบูรณ์แข็งแรง -ช่วยเร่งการเจริญเติบโตและกระจายระบบรากได้ดี ป้องกันโรครากเน่า โคนเน่า -ปรับสภาพดินทําให้ดินร่วนซุย เนื่องจากดินได้ถูกปรับสภาพให้มีค่าเป็นกลาง -ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชผัก ผลไม้ ไม้ดอกไม้ประดับทุกชนิด อัตราการใช้ 1 ทางใบ 10 มล.ต่อน้ํา 10 ลิตร 5-7 วัน/ ครั้ง (เน้นฉีดพ่นใต้ใบ) 2 ทางดิน 10 มล.ต่อน้ํา 5 ลิตร 5-7 วัน/ ครั้ง (รดโคนต้นรัศมีรอบๆทรงพุ่ม) ข้อควรระวัง -ในกรณีที่พืชติดดอกแล้ว ให้รดราดทางดินรอบๆโคนต้นแทนการฉีดพ่นเพราะจะทําให้เกสรดอกหลุดร่วงได้ -ควรฉีดพ่นและราดรดในตอนเช้าหรือตอนเย็นเท่านั้น -หลังการใช้ปิดฝาให้สนิทและเก็บไว้ในที่ร่มห้ามโดนแดด บอ ใบ ไม้