อื่นๆ พระพุทธศรีเทวานาคราช ปางรําพึง พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประสานยกขึ้นประทับที่พระอุระ พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้ายเป็นกิริยารําพึง บางแห่งสร้างเป็นแบบนั่งก็มี พระพุทธรูปปางนี้ มีตํานานดังนี้ เมื่อตปุสสะ ภัลลิกะ สองพานิชกราบทูลลาไปแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จจากร่มไม้ราชายตนะพฤกษ์ ไปประทับที่ร่มไม้อชปาลนิโครธอีกครั้งหนึ่งในคราวประทับครั้งนี้มีพระหฤทัยทรงรําพึงถึงธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้แล้วนั้นว่า เป็นธรรมประณีตละเอียด สุขุมคําภีรภาพยากที่บุคคลจะรู้ได้ ทําให้ท้อแท้พระทัย ถึงกับทรงดําริจะไม่แสดงธรรมแก่มหาชน ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมทราบวาระจิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงร้องประกาศชวนเทพดาทั้งหลาย พากันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ณ ควงไม้อชปาลนิโครธ ถวายอภิวาทแล้วกราบทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคให้ทรงแสดงธรรมโปรดประชากรเพื่อบุคคลผู้มีธุลีในนัยน์ตาน้อย ทั้งมีอุปนิสัยในอันจะเป็นพุทธสาวก จะได้ตรัสรู้ธรรมบ้าง พระผู้มีพระภาค ทรงรําพึงถึงธรรมเนียมของพระพุทธเจ้าทั้งหลายแต่ปางก่อนว่า ได้ตรัสรู้แล้วย่อมทรงแสดงธรรมโปรดประชากรทั้งหลายประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้แผ่ไพศาลเพื่อประโยชน์สุขแก่ปัจฉิมชนตาชนคนเกิดมาภายหลังแล้วจึงเสด็จปรินิพพาน จึงได้น้อมพระทัยไปในอันแสดงธรรมโปรดประชากรในโลกแล้ว ทรงพิจารณาอีกว่าจะมีผู้รู้ถึงธรรมนั้นบ้างหรือไม่ ก็ทรงทราบถึงอุปนิสัยของบุคคลทั้งหลายในโลกย่อมมีต่าง ๆ กัน คือทั้งประณีต ปานกลาง และหยาบ ที่มีนิสัยดี มีกิเลสน้อยเบาบางมีบารมีที่ได้สั่งสมอบรมมาแล้ว ซึ่งพอจะตรัสรู้ธรรมตามพระองค์ได้ก็มีอยู่ ผู้มีอินทรีย์ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา กล้าก็มี ผู้มีอินทรีย์อ่อนก็มี เป็นผู้จะพึงสอนให้รู้ได้โดยง่ายก็มี เป็นผู้จะพึงสอนให้รู้ได้โดยยากก็มี เป็นผู้สามารถจะรู้ได้ก็มี เป็นผู้ไม่สามารถจะรู้ได้ก็มี เปรียบเหมือนดอกบัวที่เกิดในน้ํา เจริญในน้ํา น้ําเลี้ยงอุปถัมภ์ไว้บางเหล่ายังจมอยู่ในน้ํา บางเหล่าอยู่เสมอน้ํา บางเหล่าขึ้นพ้นน้ําแล้ว ในดอกบัว ๓ เหล่านั้น ดอกบัวที่ขึ้นพ้นน้ําแล้วนั้น คอยสัมผัสรัศมีพระอาทิตย์อยู่ จักบาน ณ เช้าวันนี้ ดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอน้ํา จักบาน ณ วันพรุ่งนี้ ดอกบัวที่ยังไม่ขึ้นจากน้ํา ยังอยู่ภายในน้ํา จักบาน ณ วันต่อ ๆ ไป ดอกบัวที่จะบานมีต่างชนิดฉันใด เวไนยสัตว์ที่จะตรัสรู้ธรรมก็มีต่างพวกกันฉันนั้น ผู้มีกิเลสน้อยเบาบาง มีอินทรีย์แก่กล้า เป็นผู้ที่จะพึงสอนให้รู้ได้โดยง่าย ก็อาจรู้ธรรมพิเศษนั้นได้ฉับพลัน ผู้มีคุณสมบัติ เช่นนั้น เป็นประมาณกลาง ได้รับอบรมในปฏิปทาอันเป็นบุพพภาค จนมีอุปนิสัยแก่กล้า ก็สามารถจะบรรลุธรรมพิเศษนั้นดุจเดียวกัน ผู้มีคุณสมบัติ เช่นนั้น แต่ยังอ่อน หรือหาอุปนิสัยไม่ได้เลย ก็ยังควรได้รับแนะนําในธรรมเบื้องต่ําต่อไปก่อน เพื่อบํารุงอุปนิสัย เมื่อเป็นเช่นนี้ พระธรรมเทศนาคงไม่ไร้ผล จักยังประโยชน์ให้สําเร็จแก่คนทุกเหล่า เว้นแต่จําพวกมิใช่เวไนยคือไม่รับแนะนํา ซึ่งเปรียบด้วยดอกบัวอ่อนอันเป็นภักษาแห่งปลาและเต่าฉิบหายเสีย ครั้นทรงพิจารณาด้วยพระญาณหยั่งทราบเวไนยสัตว์ผู้จะได้รับประโยชน์จากพระธรรมเทศนาดั่งนั้นแล้ว ก็ทรงอธิษฐานพระหฤทัยในอันจะแสดงธรรมสั่งสอนมหาชน และตั้งพุทธปณิธานจะใคร่ดํารงพระชนม์อยู่ จนกว่าจะได้ประกาศพระศาสนาแพร่หลาย ประดิษฐานให้มั่นคง สําเร็จประโยชน์แก่ชนนิกรทุกเหล่า พระพุทธจริยา ที่ทรงรําพึงถึงธรรมที่จะแสดงโปรดมหาชนนั้นเป็นเหตุให้สร้างพระพุทธรูปปางนี้ เรียกว่า ปางรําพึง" พระพุทธรูปปางนี้ นิยมสร้างขึ้นเป็นที่สักการบูชาประจําวันของคนเกิดวันศุกร์ ข้อมูลจากหนังสือ ตํานานพระพุทธรูปปางต่าง ๆ นิพนธ์ของ พระพิมลธรรม ราชบัณฑิต ชอบ อนุจารีมหาเถร ปางรําพึง พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประสานยกขึ้นประทับที่พระอุระ พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้ายเป็นกิริยารําพึง บางแห่งสร้างเป็นแบบนั่งก็มี เมื่อตปุสสะ ภัลลิกะ สองพานิชกราบทูลลาไปแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จจากร่มไม้ราชายตนะพฤกษ์ ไปประทับที่ร่มไม้อชปาลนิโครธอีกครั้งหนึ่งในคราวประทับครั้งนี้มีพระหฤทัยทรงรําพึงถึงธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้แล้วนั้นว่า เป็นธรรมประณีตละเอียด สุขุมคําภีรภาพยากที่บุคคลจะรู้ได้ ทําให้ท้อแท้พระทัย ถึงกับทรงดําริจะไม่แสดงธรรมแก่มหาชน ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมทราบวาระจิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงร้องประกาศชวนเทพดาทั้งหลาย พากันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ณ ควงไม้อชปาลนิโครธ ถวายอภิวาทแล้วกราบทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคให้ทรงแสดงธรรมโปรดประชากรเพื่อบุคคลผู้มีธุลีในนัยน์ตาน้อย ทั้งมีอุปนิสัยในอันจะเป็นพุทธสาวก จะได้ตรัสรู้ธรรมบ้าง พระผู้มีพระภาค ทรงรําพึงถึงธรรมเนียมของพระพุทธเจ้าทั้งหลายแต่ปางก่อนว่า ได้ตรัสรู้แล้วย่อมทรงแสดงธรรมโปรดประชากรทั้งหลายประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้แผ่ไพศาลเพื่อประโยชน์สุขแก่ปัจฉิมชนตาชนคนเกิดมาภายหลังแล้วจึงเสด็จปรินิพพาน จึงได้น้อมพระทัยไปในอันแสดงธรรมโปรดประชากรในโลกแล้ว ทรงพิจารณาอีกว่าจะมีผู้รู้ถึงธรรมนั้นบ้างหรือไม่ ก็ทรงทราบถึงอุปนิสัยของบุคคลทั้งหลายในโลกย่อมมีต่าง ๆ กัน คือทั้งประณีต ปานกลาง และหยาบ ที่มีนิสัยดี มีกิเลสน้อยเบาบางมีบารมีที่ได้สั่งสมอบรมมาแล้ว ซึ่งพอจะตรัสรู้ธรรมตามพระองค์ได้ก็มีอยู่ ผู้มีอินทรีย์ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา กล้าก็มี ผู้มีอินทรีย์อ่อนก็มี เป็นผู้จะพึงสอนให้รู้ได้โดยง่ายก็มี เป็นผู้จะพึงสอนให้รู้ได้โดยยากก็มี เป็นผู้สามารถจะรู้ได้ก็มี เป็นผู้ไม่สามารถจะรู้ได้ก็มี เปรียบเหมือนดอกบัวที่เกิดในน้ํา เจริญในน้ํา น้ําเลี้ยงอุปถัมภ์ไว้บางเหล่ายังจมอยู่ในน้ํา บางเหล่าอยู่เสมอน้ํา บางเหล่าขึ้นพ้นน้ําแล้ว ในดอกบัว ๓ เหล่านั้น ดอกบัวที่ขึ้นพ้นน้ําแล้วนั้น คอยสัมผัสรัศมีพระอาทิตย์อยู่ จักบาน ณ เช้าวันนี้ ดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอน้ํา จักบาน ณ วันพรุ่งนี้ ดอกบัวที่ยังไม่ขึ้นจากน้ํา ยังอยู่ภายในน้ํา จักบาน ณ วันต่อ ๆ ไป ดอกบัวที่จะบานมีต่างชนิดฉันใด เวไนยสัตว์ที่จะตรัสรู้ธรรมก็มีต่างพวกกันฉันนั้น ผู้มีกิเลสน้อยเบาบาง มีอินทรีย์แก่กล้า เป็นผู้ที่จะพึ