พระปิดตาเพิ่มทรัพย์ หลวงพ่อพัฒน์ ปุญญกาโม วัดห้วยด้วน จ.นครสวรรค์ ปี 2563 รายการจัดสร้างลําดับที่ 4 เนื้อนวะแก่เงิน ก้นเงิน จํานวนจัดสร้าง 99 องค์ ขนาดประมาณ สูง 2.5 ซม.กว้าง 1.8 ซม วัตถุมงคล มีโค๊ตและรันหมายเลขกํากับองค์ องค์นี้หมายเลข ๗๕ รับประกัน ตามหลักสากล เก๊คืนเต็ม 100% ตามเงือนไข มีกล่องเดิมจากวัด พร้อมเลี่ยมกรอบพลาสติกกันน้ําเก็บผิวพระ บูชา 1,000.- รวมจัดส่ง ems #มีบริการการเก็บเงินปลายทาง หลวงพ่อพัฒน์ ปุญญกาโม พระเกจิชื่อดังเทพเจ้าแห่งปากน้ําโพ สืบทอดพุทธาคมจาก หลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล (เป็นเหลนแท้ๆ) ผ่านหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ หลวงพ่ออิน วัดหางน้ําสาคร หลวงพ่อหมึก วัดสระทะเล (เป็นหลาน) หลวงพ่อโหมด วัดโคกเดื่อ ฯลฯ ที่มีพรรษามากที่สุดในนครสวรรค์ “พระครูนิวิฐปุญญากร” หรือ “หลวงพ่อพัฒน์ ปุญญกาโม” วัดห้วยด้วน (ธารทหาร) อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์ พระเกจิอาจารย์เรืองวิทยาคมที่มีชื่อเสียง เป็นศิษย์พุทธาคม หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ, หลวงพ่ออิน วัดหางน้ําสาคร, หลวงพ่อหมึก วัดสระทะเล และหลวงพ่อโหมด วัดโคกเดื่อ ท่านยังเป็นพระเถระที่มีอายุกาลพรรษาสูงรูปหนึ่งของเมืองปากน้ําโพ มีนามเดิม พัฒน์ ก้อนจันเทศ เกิดเมื่อวันที่ 12 พ.ค.2465 ที่บ้านสระทะเล ต.ย่านมัทรี อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ บิดา-มารดาชื่อนายพุฒและนางแก้ว ช่วงวัยเด็กที่บ้านสระทะเลเกิดภัยแล้ง ครอบครัวจึงอพยพไปทํานาที่บ้านหนองเนิน อ.ท่าตะโก และย้ายไปทํานาที่บ้านหนองหลวง อ.ท่าตะโกซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่หลวงพ่อเดิมสร้างเสนาสนะให้วัดหนองหลวง บิดาจึงได้ไปช่วยหลวงพ่อเดิมสร้างวัดและท่านยังร่ําเรียนเขียนอ่านรวมทั้งฝึกหัดท่องคาถาสั้นๆจากหลวงพ่อเดิมและยังได้ศึกษาภาษาไทยภาษาขอมจากหลวงตาน้อยฝึกหัดนั่งสมาธิกับหลวงพ่ออิน อายุ 13 ปี จึงเดินทางกลับมาเรียนหนังสือจนจบชั้น ป.4 ที่วัดสระทะเล อ.พยุหะคีรี โดยไปอยู่กับหลวงลุง ซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล ระหว่างไปอยู่ที่วัดหนองหลวงและวัดสระทะเลได้ศึกษาวิทยาคมต่างๆ จากหลวงพ่อเทศด้วย พออายุครบเกณฑ์ทหารถูกคัดเลือกเข้าไปเป็นทหารกองประจําการ แต่ขณะที่จะหมดวาระปลดจากทหารเกณฑ์ กลับเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา (สงครามโลกครั้งที่ 2) ขึ้นเสียก่อน จึงทําให้ต้องเป็นทหารต่อไปจนอายุ 24 ปี ปลดประจําการเมื่อปี พ.ศ.2489 จากนั้นเข้าพิธีอุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.2489 ที่อุโบสถวัดสระทะเล ต.ย่านมัทรี อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ มีพระธรรมไตรโลกาจารย์ (หลวงพ่อยอด) วัดเขาแก้ว เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการชั้ว วัดสระทะเล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มุ่งมั่นศึกษาพระปริยัติธรรม นักธรรมชั้นตรีและชั้นโทไปได้สักระยะ โดยระหว่างนั้นหลวงพ่อเดิมได้ไปสร้างเสนาสนะและอุโบสถอยู่ที่วัดอินทราราม จึงไปเรียนพุทธาคมด้วย เมื่อพบกับหลวงพ่อเดิมที่วัดอินทราราม จึงเริ่มถ่ายสรรพวิชาทั้งกัมมัฏฐานและพุทธาคม โดยให้ไปจําวัดอยู่ที่วัดเขาแก้วกับหลวงพ่อกัน ด้วยขณะนั้นวัดอินทรารามกําลังซ่อมสร้าง เสนาสนะอยู่ จึงไม่สะดวกในการพํานักจําพรรษา จึงต้องเดินไปเช้าเย็นกลับระหว่างวัดทั้งสอง เรียนวิชาอยู่เกือบสองพรรษาจึงจบ ขณะเดินธุดงค์ไปยังเมืองลับแล ไปพักกับหลวงพ่อชุบ เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง จ.อุตรดิตถ์ หลวงพ่อชุบถ่ายทอดวิชาเมตตามหานิยมให้และขอให้คู่เทศน์ปุจฉา-วิสัชนา คู่กันเป็นระยะหนึ่ง เมื่อถึงเวลาอันสมควรจึงขอลาหลวงพ่อชุบกลับวัดสระทะเล แต่หลวงพ่อชุบกลับขอให้อยู่เป็นเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้งแทนอีก 3 ปี ด้วยหลวงพ่อชุบจะย้ายไปพัฒนาวัดพระยืนพุทธบาทยุคลก่อน จึงต้องอยู่ดูแลวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง 6 ปี จึงได้กลั