คุณประโยชน์
1.โรคลําต้นเน่า: เชื้อสาเหตุ Phytophthora cyperi (Ideta), อัตราการใช้ 12 กรัม/ น้ํา 20 ลิตร, วิธีใช้ พ่นสารเคมีในระยะต้นพืชสูงประมาณ 1 เมตร จากนั้นพ่นห่างกันประมาณ 3 สัปดาห์
2.โรคเน่าเข้าไส้หรือเน่าดํา: เชื้อสาเหตุ Phytophthora palmivora (Butl.) Butl., อัตราการใช้ 40 กรัม/ น้ํา 20 ลิตร, วิธีใช้ พ่นสารเคมีให้ทั่วต้น เมื่อพบการระบาดของโรค และพ่นซ้ําทุกๆ 7 วัน
3.โรครากและโคนเน่า: เชื้อสาเหตุ Phytophthora palmivora (Butler) Butler, อัตราการใช้ 50-60 กรัม/ น้ํา 1 ลิตร, วิธีใช้ พ่นสารเคมีให้ทั่วต้น ใช้ทาบริเวณแผล ซึ่งก่อนทาต้องถากเปลือกออกบางๆ จนถึงเนื้อดีที่อยู่บริเวณรอบๆเพื่อให้การดูดซึมดีขึ้น
4.โรคต้นเน่า: เชื้อสาเหตุ Pythium aphanidermatum อัตราการใช้ 10 กรัม/ น้ํา 20 ลิตร, วิธีใช้ พ่นสารเคมีให้ทั่วทั้งใบเพื่อป้องกันการระบาดของโรค แต่ไม่สามารถรักษาต้นที่เป็นโรคแล้ว
5.โรคเน่าคอดิน: เชื้อสาเหตุ Phytophthora nicotianae B.de Hannvar.parasitica (Dast.) Waterh และ Rhizoctonia solani Kuehn, อัตราการใช้ 7 กรัม/ เมล็ด 1 ก.ก., วิธีใช้ ใช้คลุกเมล็ดก่อนปลูก
6.โรคใบไหม้หรือใบจุดตาเสือ: เชื้อสาเหตุ Phytophthora colocasiae Rac., อัตราการใช้ 2-3 กรัม/ ต้น., วิธีใช้ หยอดลงไปที่โคนต้นจะสามารถป้องกันได้ประมาณ 1 เดือนขึ้นไป
7.โรคยอดเน่าหรือโคนเน่า: เชื้อสาเหตุ Phytophthora Parasitica Dastur., อัตราการใช้ 20-40 กรัม/ น้ํา 20 ลิตร., วิธีใช้ จุ่มหน่อพันธ์ก่อนปลูก หลังจากปลูก ป้องกันโดยการพ่นที่ยอดทุกๆ 2 เดือน
8.กล้ายางพารา : โรคใบร่วง ใช้อัตรา 50 กรัมต่อน้ํา 20 ลิตร พ่นกล้ายางทุก 7-14 วัน ควรป้องกันโดยพ่นในช่วงฤดูฝนก่อนพบอาการใบร่วง 9
ยางพารา : โรคเส้นดํา ใช้อัตรา 5 กรัมต่อน้ํา 1 ลิตร ทาหน้ากรีดยางทุก 2-4 วันหรือทุกครั้งที่กรีดยาง ในช่วงฝนตกชุกให้ใช้อัตรา 20 กรัมต่อน้ํา 20 ลิตรทาที่หน้ากรีดยางทันทีที่มีโอกาส
วิธีเก็บรักษา: ต้องเก็บ metalaxyl ในภาชนะเดิมที่ปิดแน่น มีฉลากติดอยู่ และไม่ให้ถูกแสงแดด สถานที่เก็บต้องให้แห้งและเย็น ห่างไกลจากเด็ก อาหาร น้ําดื่ม สัตว์เลี้ยงและเปลวไฟ
คําเตือน: เมทาแลกซิล เป็นวัตถุอันตรายที่มีพิษ ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
ข้อปฎิบัติสําหรับผู้ใช้: - ห้ามดื่มน้ํา กินอาหาร หรือสูบบุหรี่ในขณะปฎิบัติงาน - ห้ามคน และนําสัตว์ เข้าไปในบริเวณที่พ่นอย่างน้อย 24 ชั่วโมง - ห้ามเทสารที่เหลือ หรือล้างภาชนะบรรจุ อุปกรณ์เครื่องพ่นสาร ลงในแม่ย้ําลําคลอง หรือบริเวณใกล้เคียง - ห้ามใช้ไฟเผาภาชนะบรรจุ หรือนํากลับไปใช้อีก - ห้ามเด็ก และผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปยังบริเวณที่กําลังฉีดพ่น - ขณะผสม ต้องสวมถุงมือ และหน้ากาก เพื่อป้องกันไม่ให้สารเข้มข้นถูกผิวหนัง และกระเด็นเข้าตา การผสมให้ใช้ไม้กวน - ขณะพ่นต้องอยู่เหนือลมเสมอ และควรสวมถุงมือและหน้ากาก - ต้องล้างมือและหน้า ให้สะอาดด้วย ด้วยสบู่และน้ํา ก่อนกินอาหาร ดื่มน้ํา หรือสูบบุหรี่ - หลังจากทํางานเสร็จแล้ว ต้องอาบน้ํา สระผม เปลี่ยนเสื้อผ้า และซักชุดที่สวมทํางานให้สะอาด - ภาชนะเมื่อใช้หมดแล้ว ให้กลั้วล้างด้วยน้ํา 3 ครั้ง และรวมเอาน้ําล้างไปใช้ผสมฉีดพ่น - กําจัดภาชนะบรรจุ โดยทําลายแล้วฝังดิน หรือรวมทิ้งให้ปลอดภัย - ระวัง อย่าให้เข้าปาก ตา จมูก หรือถูกผิวหนัง และเสื้อผ้า -
เป็นพิษต่อปลา: ต้องระวังการชะล้างลงสู่แหล่งน้ํา
อาการเกิดพิษ: ผู้ได้รับพิษอาจมีอาการเซื่องซึม หายใจขัด เหงื่อออกมาก กล้ามเนื้อสั่นกระตุก มือสั่น
การแก้พิษเบื้องต้น: - ต้องสวมถุงมือยาง และ