รูปหล่อปั้มหลวงพ่อเดิม เพดานโบสถ์ เนื้ออัลปาก้า วัดหนองโพ นครสวรรค์ ปี 2493 เป็นรุ่นสุดท้ายของหลวงพ่อเดิม พระสภาพสวย เนื้ออัลปาก้า เนื้อพระเก่าตามกาลเวลา มีจารยันต์พุฒซ้อนใต้ฐาน มาพร้อมบัตรรับรองพระแท้ น่าบูชา น่าสะสมครับ หลวงพ่อเดิม พุทฺธสโร หรือ พระครูนิวาสธรรมขันธ์ เจ้าอาวาสวัดหนองโพ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ เป็นพระเกจิอาจารย์ ที่มีชื่อเสียงเลื่องลือในเรื่องวิทยาคมและเครื่องรางของขลัง จนเป็นที่เลื่องลือ โดยเฉพาะเหรียญหลวงพ่อเดิม รุ่นแรก มีดหมอหลวงพ่อเดิม สิงห์งาแก และรูปหล่อหลวงพ่อเดิม ท่านมีลูกศิษย์มาขอศึกษาวิชาพุทธาคมมากมายเช่น หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม หลวงพ่อเชื้อ วัดใหม่บําเพ็ญบุญ เป็นต้น รูปหล่อปั้มหลวงพ่อเดิม รุ่นเพดานโบสถ์นี้ แตกกรุในยุคของหลวงพ่อประเทือง(พระครูนิวาทธรรมโกวิท) เมื่อปี พ.ศ.2547 โดยพบเจอจํานวนหลายร้อยองค์ มีเนื้อทองเหลือง เนื้ออัลปาก้า เนื้อเงิน และเนื้อตะกั่ว และบางส่วนยังพบเจอที่หอสวดมนต์เพิ่มเติม โดยหลวงพ่อสมพงษ์ท่านยังบอกอีกว่ารุ่นนี้สร้างประมาณปี 2493 เป็นรุ่นสุดท้ายของหลวงพ่อเดิม เนื้อเก่าถึงยุค และวัสดุที่ห่อหุ้มพระตอนเจอเป็นถุงพลาสติกมีสภาพกรอบยุ่ย บ่งบอกถึงความเก่าได้เป็นอย่างดี และท่านยังบอกอีกว่าตอนกรุแตกท่านได้อยู่ด้วย และรับรู้พร้อมๆ กับหลวงพ่อประเทือง (สมัยนั้นหลวงพ่อประเทืองเป็นเจ้าอาวาส และหลวงพ่อสมพงษ์เป็นพระเลขาฯ) หลังจากที่พบเจอแล้ว ได้นําออกจําหน่ายเนื้อทองเหลือง, เนื้อตะกั่ว และ เนื้ออัลปาก้า และบางส่วนหลวงพ่อสมพงษ์ท่านเก็บเอาไว้อีกประมาณร้อยกว่าองค์ และนําออกให้ญาติโยมที่เป็นเจ้าภาพในการสร้างระฆังจํานวน 108 ใบ ในปี พ.ศ 2550 - 2551 หมดจากวัดอย่างรวดเร็ว รูปหล่อปั้มหลวงพ่อเดิม พุทธลักษณะ เป็นรูปเหมือนปั๊มหลวงพ่อเต็มองค์นั่งสมาธิเหนืออาสนะฐานเขียง ลักษณะเป็นธรรมชาติ เส้นหน้าผากเป็นร่องลึก รายละเอียด บนใบหน้าคม ช่วงกลางของสังฆาฏิ มีลักษณะเป็นร่องลึกพาดขวาง, รอยย่นและกลีบจีวรเป็นธรรมชาติในพิมพ์ ด้านหน้าฐานจารึกอักษรไทยว่า “หลวงพ่อเดิม” และใต้ฐานลงจาร อักขระโดยลูกศิษย์ของหลวงพ่อ อาทิ หลวงพ่อโอน วัดโคกเดื่อ, หลวงพ่ออ๋อย วัดหนองบัว และ หลวงพ่อน้อย วัดหนองโพ แต่ส่วนใหญ่ที่พบมักเป็นลายมือจารของหลวงพ่อน้อย ซึ่งได้รับความนิยมมากกว่าเพราะสวยงามและจดจําง่าย #หลวงพ่อเดิม, #วัดหนองโพ, #หลวงพ่อเดิม รุ่นเพดานโบสถ์, #รูปหล่อปั้มหลวงพ่อเดิม เพดานโบสถ์ เนื้ออัลปาก้า วัดหนองโพ นครสวรรค์ ปี 2493