เหรียญ รัชกาล 9 พ ศ
2539: เก็บรักษาไว้ได้นานถึงห้าปีของการผลักดัน เหรียญ 2 บาท รัชกาล
9: รวมถึงการผสมผสานที่ลงตัวระหว่างความบันเทิงและความบันเทิงรวมถึงการออกแบบที่ได้รับแรงบันดาลใจจากธงอเมริกัน เงิน เหรียญ รัชกาล
6: รวมถึงการรวมกันของขนนกที่สวยงามและเพลาที่โพสต์เพื่อความสมดุลและความมั่นคง เห รี ยนหลวง
พ่อเงีน: ในขณะที่การรักษาแต่ละชิ้นอย่างระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการแตกหัก
เหรียญพระเจ้าตากสิน: รวมถึงอัตราเงินเฟ้อและภาวะเงินฝืดอย่างรวดเร็ว เหรียญพระพุทธชินราช หลัง ตรา ภปร ฉลองพระชนมพรรษา 6 รอบ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ปี 4 2 เนื้อเงิน ขัดเงา ชนาด 1.2 เซน บล็อคนอก เพิร์ธมิ้น ออสเตรเลีย วัตถุประสงค์การจัดสร้าง เพื่อจัดซื้อเลนส์แก้วตาเทียมมอบแก่โรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศ 76 จังหวัดๆละ 72 ดวงตา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ มูลนิธิพิทักษ์ดวงตาประชาชน จัดสร้าง พระพุทธชินราช จําลอง ในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมายุ 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 โดย พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์โสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จทรงเป็นประธานในพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จ พิษณุโลก ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2542 โดยพระคณาจารย์ทั่วประเทศ 399 รูป เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาส พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 6 รอบ 72 พรรษา) ประวัติความเป็นมาของมูลนิธิพิทักษ์ดวงตาประชาชน พ ศ 2529 พลตรีกวี คัมภีรญาณ รองผู้บัญชาการศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม ได้รับการผ่าตัดจอประสาทตาลอกที่ตาข้างขวาในโรงพยาบาลราชวิถี โดยแพทย์หญิงโสมสราญ วัฒนะโชติ จากตาที่เริ่มจะบอดสนิท สามารถนับนิ้วมือได้ในระยะ 2-3 ฟุต ในที่สุดกลับมีสายตาเป็นปกติ ระหว่างที่พักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลราชวิถี ท่านได้เห็นความทุกข์ยากของผู้ป่วยที่ยากจน รวมทั้งความยากลําบากของแพทย์พยาบาลที่รักษาคนไข้ด้วยงบประมาณที่ไม่เพียงพอ จึงได้รวบรวมเงินของท่าน และเพื่อน ๆ โดยเฉพาะจากท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม และคุณสินธู ศรสงคราม ได้จํานวนเงิน 305,500 บาท มอบให้แก่แพทย์หญิงโสมสราญ วัฒนะโชติ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงเครื่องมือผ่าตัดจอประสาทตาลอก แต่เนื่องจากเครื่องมือที่ต้องการในขณะนั้นได้รับการบริจาคจากองค์การ CBM Christian Blinden Mission ประเทศเยอรมันตะวันตกเสียก่อน เงินจํานวนนี้จึงได้นํามาเป็นเงินกองทุนจัดตั้งมูลนิธิชื่อว่า มูลนิธิพิทักษ์ดวงตาราชวิถี มีนายแพทย์สาโรจน์ อรรถวิภัชน์ ผู้อํานวยการโรงพยาบาลราชวิถีเป็นประธานกรรมการคนแรก อาจารย์สมบัติ รูปประดิษฐ์ เป็นรองประธานกรรมการฝ่ายจัดหาทุน ท่านสัญญาบริจาคให้อย่างต่ําเดือนละ 3,000 บาท สามพันบาทถ้วน) มูลนิธิฯ ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเป็นทางการ เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2532 จากสํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ มีสํานักงานตั้งอยู่ในโรงพยาบาลราชวิถี ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามูลนิธิฯ ได้ดําเนินการช่วยเหลือแก้ไขสภาพตาบอดจากต้อกระจก และโรคตาอื่น ๆ แก่ประชาชนที่มีฐานะยากจน ตลอดจนสนับสนุนการวิจัยด้านการแพทย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านจักษุวิทยา เพื่อให้ประชาชนมีสายตาที่ดีและเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต มูลนิธิฯ ได้ร่วมทําการวิจัยกับองค์การออร์บิช นิวยอร์ค-แคนาดา มูลนิธิฯ เลออนฮาร์ด และคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศึกษาวิจัยสถิติผู้ป่วย เพื่อหาวิธีที่ดีที่สุดในการผ่าตัดต้อกระจก ระหว่างการผ่าตัดแบบลอกต้อกระจกออกแล้วใส่แว่นตา ICCE กับการผ่าตัดลอกต้อกระจกออกแล้วใส่เลนส์ตาเทียม ECCE พบว่าการผ่าตัดด้วยวิธีหลัง คนไข้มีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าอย่างมีนัยสัมพันธ์ที่ชัดเจน มูลนิธิฯจึงใช้การรักษาต้อกระจกด้วยการผ่าตัดลอกต้อกระจกออกแล้วใช้เลนส์ตา เทียมเป็นหลักมาตลอดจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์การบริการประชาชนด้านโรคตาเป็นไปโดยกว้างขวางและ แพร่หลาย มูลนิธิฯได้เรียนเชิญบุคคลจากสาขาอาชีพต่าง ๆ เข้าร่วมเป็นกรรมการมูลนิธิฯ และได้เปลี่ยนชื่อมูลนิธิฯ โดยใช้ชื่อว่า มูลนิธิพิทักษ์ดวงตาประชาชน จากการสนับสนุนและเอื้อเฟื้อของโรงพยาบาลกรุงเทพ ให้สถานที่ในศูนย์จักษุ ณ อาคารใหม่เป็นสํานักงานของมูลนิธิฯจึงย้ายมายัง เลขที่ 2 ซอยศูนย์วิจัย 7 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพฯ 10310 ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้อนุญาตการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2537 นายพิพัฒน์ ปรีดาวิภาต เป็นประธานกรรมการ และ นายสมบัติ รูปประดิษฐ์ เป็นรองประธานฝ่ายจัดหาทุน วัน ที่ 16 สิงหาคม 2538 กระทรวงการคลังได้ประกาศตามประกาศกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 34 กําหนดให้มูลนิธิพิทักษ์ดวงตาประชาชน เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศลตามมาตรา 47 ก ข แห่งประมวลรัษฎากร เป็นองค์การสาธารณกุศลลําดับที่ 279 ดังนั้นเงินค่าบริจาคที่ให้กับมูลนิธิพิทักษ์ดวงตาประชาชน จึงนําไปหักเป็นค่าลดหย่อนภาษีเงินได้ได้ตามกฎหมาย วันที่ 1 สิงหาคม 2550 กรมสรรพสามิต ได้พิจารณาประกาศกําหนดให้มูลนิธิฯ เป็นองค์การสาธารณกุศล ตามมาตรา 1021 2 แห่งพระราชบัญญัติ ภาษีสรรพสามิต พ ศ 2527 และมาตรา 102 ทวิ 1 2 แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ ศ 2527 ซึ่งเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต ฉบับที่ 2 พ ศ 2534 ลงวันที่ 28 มีนาคม พ ศ 2549 ลําดับที่ 83