เหรียญพระมหาชนก รัชกาลที่ 9 ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี เนื้อเงิน พิมพ์เล็ก พร้อมกล่องใส่เหรียญ จัดสร้างปี 2542 เหรียญทรงคุณค่า ออกแบบได้สวยงาม พร้อมกล่องใส่เหรียญเดิม ผ่านพิธีพิธีชัยมังคลาภิเษกใหญ่ ในหลวง(รัชกาลที่ 9) ทรงเป็นประธานในการประกอบพระราชพิธีชัยมังคลาภิเษก หายาก น่าสะสม เหรียญพระมหาชนก คือ สัญลักษณ์แห่งความเพียร พระองค์ทรงมีพระประสงค์ให้ผู้ที่ครอบครอง ตระหนักถึงความวิริยะ อย่าท้อแท้กับชีวิต วันนี้อาจยังไม่ประสบความสําเร็จ แต่หากเพียรพยายามไม่ยอมแพ้ สักวันโอกาสจะเกิดขึ้นกับเรา ทุกตัวอักษรในพระราชนิพนธ์พระมหาชนก คือ คําสอนล้ําค่าที่นํามาปรับใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย สะท้อนให้เห็นถึงสายพระเนตรที่กว้างไกลของในหลวง รัชกาลที่ 9 ขณะเดียวกัน พระองค์ทรงเป็นต้นแบบความเพียรตลอดการครองสิริราชสมบัติ เพื่อให้พสกนิกรน้อมนําไปปฏิบัติ รูปแบบเหรียญพระมหาชนก - ด้านหน้าเหรียญ เป็นประติมากรรมนูนต่ําพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพระอิริยาบถที่มีหยาดพระเสโทที่พระนาสิกขณะทรงงาน มีอักษรภาษาไทย อักษรเทวนาครี และอักษรภาษาอังกฤษ เขียนข้อความ วิริยะ PERSERVERANCE และ อักษาเทวนาครี - ด้านหลังเหรียญ เป็นภาพพระมหาชนกอยู่ในห้วงสาคร มีนางเมขลาลอยอยู่เบื้องบน เป็นตอนที่ 21 จากพระราชนิพนธ์ ด้านล่างมีตัวอักษรภาษาไทย “พระมหาชนก” อักษรเทวนาครี และภาษาอังกฤษ เป็นภาพพระมหาชนกในมหาสมุทร ขณะทรงสนทนาธรรมกับนางมณีเมขลา ซึ่งปั้นจากต้นแบบภาพฝีพระหัตถ์สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ พิธีชัยมังคลาภิเษก เหรียญพระมหาชนก ผ่านพิธีชัยมังคลาภิเษกที่วัดบวรนิเวศวิหาร ในทรง(รัชกาลที่ 9) เป็นประธานในการประกอบพระราชพิธีชัยมังคลาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2539 โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเป็นประธานนั่งปรก พร้อมด้วยพระคณาจารย์อีกหลายรูป อาทิ หลวงตามหาบัว ญาณสังปันโน, หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ, หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ, หลวงพ่อแย้ม วัดตะเคียน เป็นต้น การจัดสร้างเหรียญพระมหาชนก เมื่อครั้งดําเนินการจัดทําหนังสือพระราชนิพนธ์ เรื่อง พระมหาชนก นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ ให้จัดสร้างเหรียญพระมหาชนกคู่เคียงกันไปด้วย ในครั้งนั้นศิลปินและประติมากรร่วมกันออกแบบถวาย เพื่อทรงวินิจฉัยหลายแบบด้วยกัน เมื่อครั้งดําเนินการจัดทําหนังสือพระราชนิพนธ์ เรื่อง พระมหาชนก นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ ให้จัดสร้างเหรียญพระมหาชนกคู่เคียงกันไปด้วย ในครั้งนั้นศิลปินและประติมากรร่วมกันออกแบบถวาย เพื่อทรงวินิจฉัยหลายแบบด้วยกัน แต่ทรงมีพระราชปรารภว่า ควรเป็นรูปที่พระมหาชนกกําลังว่ายน้ํา และหันมาสนทนาธรรมกับนางมณีเมขลา ซึ่งแนวพระราชดํารินี้ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ได้เคยทรงร่างเป็นภาพลายเส้นไว้ จึงได้นํามาเป็นต้นแบบที่ด้านหนึ่งของเหรียญ พร้อมกํากับอักษรว่า “พระมหาชนก” เป็นภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาเทวนาครีไว้ เหรียญพระมหาชนกจัดสร้างขึ้นพร้อมกับงานพิมพ์พระราชนิพนธ์ ด้วยนัยแห่งพระราชดําริ อันพ้องกับคติธรรม ซึ่งดํารงอยู่ในเรื่องราวแห่งพระชาดกนั้น “ที่ต้องมีเหรียญนี่ เป็นพระราชดําริที่ลุ่มลึกมากนะครับ” อาจารย์ นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน ประติมากรผู้ปั้นแบบเหรียญพระมหาชนก อธิบาย “เพราะหนังสือ เมื่อเราอ่านแล้ว เราก็วางไว้กับบ้าน เวลาเราไปไหน บางครั้งอาจจะลืม เหรียญนี่เป็นขนาดเล็กติดตัวไปได้ ซึ่งเหรียญนี้ ไม่ได้บรรยายความว่าเป็นเรื่องอะไร แต่ว่าให้เป็นเหรียญที่ระลึกนึกถึงสิ่งที่เราได้เคยอ่านจากหนังสือ เวลาที่เราเกิ