วัตถุมงคลของหลวงพ่อ ทุกชิ้นอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์เนื่องจากทางร้านหารายการของผู้จัดสร้างไม่ได้จึงไม่กล้าบอกชนิดของเนื้อวัตถุมงคลเกรงจะผิดพลาด จึงปล่อยราคาเดียวกันหมดทุกเหรียญ บูชาพร้อมกล่องเดิมจากวัด ประวัติ หลวงพ่อพัฒน์ ปุญญกาโม วัดห้วยด้วน ธารทหาร อ หนองบัว จ นครสวรรค์ หลวงพ่อพัฒน์ ปุญญกาโม พระครูนิวิฐปุญฺญฺากร ที่ปรึกษาเจ้าคณะตําบลธารทหาร เจ้าอาวาสวัดห้วยด้วน เกจิอาจารย์ผู้สืบทอดพุทธาคมจากหลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล เป็นเหลนแท้ๆ ผ่านหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ, หลวงพ่ออิน วัดหางน้ําสาคร, หลวงพ่อหมึก วัดสระทะเล เป็นหลาน และหลวงพ่อโหมด วัดโคกเดื่อ ท่านเกิดวันที่ 12 พฤษภาคม พ ศ 2465 บิดา-มารดาชื่อ นายพุฒ ก้อนจันเทศ และนางแก้ว นามสกุลเดิม(ฟุ้งสุข ซึ่งอยู่ที่หมู่ 7 บ้านสระทะเล ต ย่านมัทรี อ พยุหะคีรี จ นครสวรรค์ ท่านอุปสมบท ในปี พ ศ 2489 ณ อุโบสถวัดสระทะเล ต ย่านมัทรี อ พยุหะคีรี โดยมีพระธรรมไตรโลกาจารย์(หลวงพ่อยอด ศิษย์หลวงพ่อเทศอีกหนึ่งรูป วัดเขาแก้ว เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงกัน วัดเขาแก้ว เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการชั๊ว วัดสระทะเล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ปุญฺญกาโม หลวงพ่อพัฒน์ได้เรียนพุทธาคมกับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ โดยท่านพบกับหลวงพ่อเดิมที่วัดอินทรารามหลวงพ่อเดิมก็เริ่มถ่ายทอดกรรมฐานและพุทธาคมให้หลวงพ่อพัฒน์ โดยให้หลวงพ่อพัฒน์ไปจําวัดอยู่ที่วัดเขาแก้วกับหลวงพ่อกัน เพราะขณะนั้นวัดอินทรารามกําลังซ่อมสร้างเสนาสนะอยู่จึงไม่สะดวกในการพัก หลวงพ่อพัฒน์ได้เรียนวิชากับหลวงพ่อเดิมจนจบ โดยใช้เวลาเกือบสองพรรษา หลังจากหลวงพ่อเดิมได้สร้างเสนาสนะให้วัดอินทรารามเสร็จแล้ว ท่านก็กลับไปยังวัดหนองโพได้ไม่นาน หลวงพ่อเดิมก็ถึงแก่มรณภาพ ในวันที่ 30 สิงหาคม พ ศ 249 4 หลวงพ่อพัฒน์เคยออกเดินธุดงค์แสวงหาสัจธรรม เสาะแสวงหาสถานที่สงบเพื่อฝึกฝนวิชากรรมฐานฝึกญาณสมาธิให้แก่กล้า ไปยังที่ต่างๆนาๆ ทั้งดินเดนอันลีลับอัศจรรย์ เช่นเมืองลับแล เมืองตาชูชก และอื่นๆ ขณะที่หลวงพ่อพัฒน์เดินธุดงค์ไปยังเมืองลับแล ท่านได้ไปพักกับหลวงพ่อชุบ เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง จ อุตรดิตถ์ และหลวงพ่อชุบ ยังได้ถ่ายทอดวิชาทางเมตตามหานิยมให้หลวงพ่อพัฒน์ และขอให้ท่านเป็นพระคู่เทศน์ ปุจฉา วิสัชนา คู่กับท่าน เป็นระยะเวลาอีก 3 ปี ขณะที่หลวงพ่อพัฒน์อยู่ที่วัดบรมธาตุทุ่งยังนั้นท่านได้สนใจค้นคว้าค้นหาบ่อน้ําทิพย์เมืองลับแลที่มีกล่าวไว้ในตําราตีมีดของสํานักวัดเขาแก้ว และในที่สุดหลวงพ่อพัฒก็ได้ค้นพบบ่อน้ําทิพย์ศักดิ์สิทธิ์นั้นและความลี้ลับต่างๆมากมาย เมื่อถึงเวลาอันสมควรหลวงพ่อพัฒน์จึงได้ขอลาหลวงพ่อชุบกลับวัดสระทะเล แต่หลวงพ่อชุบกลับขอให้ท่านอยู่เป็นเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้งแทนท่านอีก 3 ปี เพราะหลวงพ่อชุบท่านจะย้ายไปพัฒนาวัดพระยืนพุทธบาทยุคคลก่อน หลวงพ่อพัฒน์จึงต้องอยู่ดูแลวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้งต่อไปอีก 3 ปี รวมเป็น 6 ปี หลังจากนั้นท่านได้กลับมาจําพรรษาอยู่ที่วัดสระทะเลอีก 9 พรรษา หลวงพ่อพัฒน์ได้ถูกอาราธนาให้ย้ายมาอยู่เป็นเจ้าอาวาสวัดธารทหาร(ห้วยด้วน เพื่อสร้างพระอุโบสถให้แล้วเสร็จ ตั้งแต่ปี พ ศ 2513 เป็นต้นมา จากนั้นท่านก็ไม่ได้ย้ายไปอยู่วัดอื่นอีกเลย ตราบจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 เวลาประมาณ 02.37 น เพจเฟซบุ๊ก สํานักงานพระราชมงคลวัชราจารย์ แจ้งประกาศจากวัดธารทหาร หรือ วัดห้วยด้วน เรื่อง การมรณภาพของ พระราชมงคลวัชราจารย์ หรือ หลวงพ่อพัฒน์ ปุญฺญกาโม ว่า ท่านเจ้าคุณพระราชมงคลวัชราจารย์ อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์ และอดีตเจ้าอาวาสวัดธารทหาร ได้ถึงแก่มรณภาพในวันนี้ วันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ ศ 2566 เวลาประมาณ 01.35 น ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ ด้วยอาการอันสงบ สิริอายุ 101 ปี 77 พรรษา สําหรับสรีระสังขารของพระราชมงคลวัชราจารย์ หลวงพ่อพัฒน์ มาถึงวัดช่วงเย็นของวันที่ 24 พฤศจิกายน พ ศ 2566 เวลาประมาณ 17.09 น โดยกองพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานจะมีการจัดงานอย่างสมเกียรติต่อไป ซึ่งสรีระสังขารของหลวงพ่อจะมีการเก็บบรรจุร่างไว้ ไม่มีการประชุมเพลิงแต่อย่างใดตามคําสั่งเสียของหลวงพ่อพัฒน์ พิธีการบําเพ็ญกุศลศพพระราชมงคลวัชราจารย์ จัดขึ้น ณ ศาลา 100 ปี หลวงพ่อพัฒน์ วัดธารทหาร วัดห้วยด้วน) วันที่ 24 พฤศจิกายน พ ศ 2566 ทางวัดทารทหารได้จัดการประชุมเตรียมความพร้อมจัดพิธีพระราชทานน้ําหลวงสรงศพ พระราชมงคลวัชราจารย์ ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ ศ 2566 โดยมี พระครูนิมิตศีลาภรณ์ สม ฐิตสีโล เจ้าคณะอําเภอหนองบัว, นายกิตติ ลิ้มศิริชัย นายอําเภอหนองบัว, พ ต อ เดชา ศรีชัย ผกก สภ หนองบัว พร้อมด้วยผู้นําชุมชน, คณะกรรมการวัด ประชาชนบ้านห้วยด้วน ร่วมประชุม โดยจะมีพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม รวม 7 วัน หลังจากนั้นเป็นการสวดพระอภิธรรมแบบปกติ วันเดียวกัน มีหนังสือจากหน่วยราชการในพระองค์ 904 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ในการศพ พระราชมงคลวัชราจารย์ โดยตลอด และให้เชิญพวงมาลา ไปวางที่หน้าหีบศพ