ต้นพันธุ์กระจับสุพรรณบุรี ต้นพันธุ์พริกไทย ต้นพันธุ์หอมแบ่ง สะระแหน่กระถาง ต้นกล้าพริกไทย ต้นพันธุ์ สันพร้าหอม เกี๋ยงพาไย สมุนไพรไทย พร้อมปลูกในถุงดํา สันพร้าหอมที่บ้านที่เชียงราย เอามาทานกับลาบหมูลาบเนื้อค่ะ อร่อยมากๆค่ะ ตํารายาไทยใบรสสุขุม แก้ไข้พิษ แก้ไข้หวัด ถอนพิษไข้ ผสมในยาแสงหมึก บรรเทาหัด อีสุกอีใส ผสมในยาเขียว และเป็นยาหอมชูกําลัง บํารุงหัวใจ ใบสดขยี้ คั้นน้ํา หรือต้มน้ําชุบผ้าก็อซปิด สมานแผล ทําให้เลือดหยุด
บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ระบุการใช้ใบสันพร้าหอม ร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ ใน ตํารับยาเขียวหอม สรรพคุณ บรรเทาอาการไข้ ร้อนในกระหายน้ํา แก้พิษหัด พิษอีสุกอีใส บรรเทาอาการไข้จากหัด และอีสุกอีใส)ชื่อสมุนไพร สันพร้าหอม ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น เกี๋ยงพาไย, ผักเพี้ยยพ่าน, เกียวฟ้าใหญ่ ภาคเหนือ), หญ้าเสือหมอง ภาคกลาง, สุพรรณบุรี, ราชบุรี, กาญจนบุรี, หญ้าลั่งพั้ง, มอกพา ไทยใหญ่, พอกี่ กะเหรี่ยง, แซหลีกิ๊บ, เพ่ยหลาน, หลานเฉา จีน) ชื่อวิทยาศาสตร์ Eupatorium fortunei Turcz ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Eupatorium caespitosum Migo, Eupatorium stoechadosmum วงศ์ ASTERACEAE-COMPOSITAE ถิ่นกําเนิดสันพร้าหอม เชื่อกันว่าสันพร้าหอมมีถิ่นกําเนิดดั้งเดิมอยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกาใต้ เช่น บราซิล อาริเจนตินา อุรุกวัย ปารากวัย เป็นต้น แล้วต่อมามีการแพร่กระจายพันธุ์ไปยังเขตร้อนต่างๆทั่วโลก ในธรรมชาติมักพบ สันพร้าหอมขึ้นกามบริเวณ ข้างลําธารในป่าหรือในบริเวณหุบเขาที่มีความชื้นปานกลาง สําหรับในประเทศไทยพบมากทางภาคเหนือและภาคอีสาน ส่วนภาคกลางพบได้ประปราย ประโยชน์และสรรพคุณสันพร้าหอม สันพร้าหอมสามารถนํามาใช้รับประทานเป็นผัก คู่ กับน้ําพริก และลาบได้ โดยใช้ในส่วนของใบมาทําเป็นเครื่องเคียงดังกล่าว และในปัจจุบันยังมีการนํามาใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสําอางหลายชนิด เช่น แป้ง, สบู่, แชมพู เนื่องจากส่วนต่างๆของส่วนพร้าหอมมีน้ํามันหอมระเหยและเมื่อแห้งยังมีกลิ่นที่หอมจึงมีการนําไปใช้ในอุตสาหกรรมดังกล่าว สําหรับสรรพคุณทางยาของสันพร้าหอมนั้น ตามตํารายาได้ระบุไว้ดังนี้ ใบรสสุขุม แก้ไข้ แก้หวัด ถอนพิษไข้ รักษาโรคหัด อีสุกอีใส สมานแผล ทําให้เลือดหยุด ใช้ผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น เป็นยาหอมชูกําลัง บํารุงหัวใจ และตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ยังระบุการใช้ใบสันพร้าหอม ใน ตํารับยาเขียวหอม ซึ่งมีสรรพคุณ แก้อาการไข้ ร้อนในกระหาย บรรเทาอาการไข้จากหัด และอีสุกอีใส ส่วนในตํารายาพื้นบ้านระบุการใช้สรรพคุณของสันพร้าหอมไว้ว่าใช้ แก้ไข้ แก้หวัด แก้ลม จุกเสียดแน่นท้อง บํารุงหัวใจ บํารุงโลหิต บํารุงกําลัง แก้ประจําเดือนไม่ปกติ แก้ลมมะเฮ็งคุด ใช้เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ร้อนใน บํารุงเลือด บํารุงกําลัง ลักษณะทั่วไปสันพร้าหอม สันพร้าหอมจัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลําต้นตั้งตรง ลําต้นมีลักษณะกลมเกลี้ยงเป็นมัน สูงประมาณ 50-100 เซนติเมตร กิ่งของลําต้นจะแตกจากโคนต้นและจะเลื้อยแผ่ไปตามดิน ใบมีสีเขียวรูปเรียวยาว ผิวเกลี้ยงแต่หลังใบจะมีขนปกคลุม ริมใบจักเหมือนฟันเลื่อย ใบกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร ยาว 5-10 เซนติเมตร ใบมีกลิ่นหอม รสขมและเผ็ดร้อนเล็กน้อย ใบออกเป็นใบเดี่ยว เรียงเป็นคู่ๆ สลับกันไป ดอกจะออกเป็นช่อ โดยในช่อจะมีประมาณ 5-6 ดอก และจะออกบริเวณ ส่วนยอดของลําต้น สําหรับลักษณะของดอกมีสีแดงหรือสีขาว ดอกมีขนาดเล็ก ทรงกระบอกดอกจะยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ส่วนปลายดอกจะแยกออกเป็นแฉก 5 แฉก มีเกสรเพศผู้ 5 อัน อยู่กลาง ดอก ผลเป็นสีดํา รูปทรงกระบอกยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร มีสัน 5 สัน และเมื่อสุกผลจะเป็นผลแห้ง และมีเมล็ดอยู่ข้างใน การขยายพันธุ์สันพร้าหอม สันพร้าหอมสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด และการปักชํากิ่ง สําหรับการขยายพันธุ์นั้นจะใช้เมล็ดที่แก่จัดนําไปเพาะหรือหยอดลงหลุมเลยก็ได้ ส่วนการปักชํากิ่ง ก็นํากิ่งแก่มาปักชําในถุงเพาะก่อนรอจนมีใบจริง 5-10 ใบ แล้วจึงนําไปปลูกต่อไป ส่วนวิธีการปลูก สันพร้าหอม โดยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชําก็สามารถทําได้เช่นเดียวกันกับการปลูก พืชชนิดอื่นตามที่ได้กล่าวมาในบทความก่อนหน้านี้ รูปแบบและขนาดวิธีใช้ ใช้แก้หวัด ใช้ทั้งต้นประมาณ 1 กํามือ ใส่ในน้ํา 1 ลิตร ต้มให้เดือด ใช้ดื่มครั้งละครึ่งแก้ว วันละ 3 เวลา หรือจะนํามาบดเป็นผงทําเป็นชาชงดื่มก็ได้ แก้ไข้ โดยใช้ใบสันพร้าหอม ใบสะระแหน่, ใบ บัวหลวง พิมเสนต้น อย่างละ 5 กรัม, ปี่แปะเอี๊ยะและโหล่วกิง 30 กรัม เปลือกฟัก 60 กรัม นํามาต้มกับน้ํารับประทาน ใช้เป็นยาแก้ไอ และแก้อาการหอบหืดโดยใช้ทุกส่วนของต้นประมาณ 10-30 กรัม นํามาตากให้แห้งบดให้เป็นผงผสมกับน้ําผึ้งรับประทานหรือจะปั้นเป็นยาลูกกลอนรับประทานก็ได้ บํารุงเลือด บํารุงกําลัง ขับน้ําออกจากร่างกาย ลดอาการบวมน้ํา ช่วยทําให้เหงื่อออก ในสตรีหลังคลอด โดยใช้ทุกส่วนของสันพล้าหอมนํามาต้มกับน้ํากิน และยังใช้เป็นยาอบอีกด้วย แก้ลมมะเฮ็ดคุด แก้วิงเวียน โดยใช้ใบสดขยี้และนํามาดม ต้นพันธุ์สันพร้าหอม เกี๋ยงพาไย สมุนไพรไทยพร้อมปลูกในถุงดํา 2 9 บาท สันพร้าหอมที่บ้านที่เชียงราย เอามาทานกับลาบหมูลาบเนื้อค่ะ อร่อยมากๆค่ะ ชื่อสมุนไพร สันพร้าหอม ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น เกี๋ยงพาไย ผักเพี้ยยพ่าน เกียวฟ้าใหญ่ ภาคเหนือ) หญ้าเสือหมอง ภาคกลาง สุพรรณบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี หญ้าลั่งพั้ง มอกพา ไทยใหญ่ พอกี่ กะเหรี่ยง แซหลีกิ๊บ เพ่ยหลาน หลานเฉา จีน) ชื่อวิทยาศาสตร์ Eupatorium fortunei Turcz ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Eupatorium caespitosum Migo, Eupatorium stoechadosmum วงศ์ ASTERACEAE-COMPOSITAE ถิ่นกําเนิดสันพร้าหอม เชื่อกันว่า สันพร้าหอม มีถิ่นกําเนิดดั้งเดิมอยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกาใต้ เช่น บราซิล อาริเจนตินา อุรุกวัย ปารากวัย เป็นต้น แล้วต่อมามีการแพร่กระจายพันธุ์ไปยังเขตร้อนต่างๆทั่วโลก ในธรรมชาติมักพบ สันพร้าหอมขึ้น กามบริเวณ ข้างลําธารในป่าหรือในบริเวณหุบเขาที่มีความชื้นปานกลาง สําหรับในประเทศไทยพบมากทางภาคเหนือและภาคอีสาน ส่วนภาคกลางพบได้ประปราย.